วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 3



แผนบริหารการสอนประจำบทที่ 2
กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของชาติ

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เหตุผลผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามถือเป็นฉบับแรกคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนาประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ พระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามตามความประสงค์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 และประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 49
2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
-          มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
-          มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
-          มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
-          มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

 3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ   แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญในปีพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 นั้นมีความเหมือนกันเนื่องจากในหัวข้อประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานั้นแต่ละปีพุทธศักราช มีโครงสร้างและองค์ประกอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอยู่ในที่ 5 เหมือนกันทั้ง 3 พุทธศักราช  คือ  รัฐจะต้องส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ  การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน  รัฐพึงสนับสนุนการวิจัยในศิลปะและวิทยาการต่าง ๆ

4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 และประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 มีความแตกต่างกันตรงที่ ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่มากนัก มีมาตราที่เกี่ยวข้อง เพียง 1 หมวด 1 มาตรา โดยกล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพ ในการพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ อย่างรวมๆ แต่ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยละเอียดมากขึ้น โดยเขียนแบ่งออกเป็น 2 หมวด 5 มาตรา แต่ละมาตราจะเขียนกำกับไว้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า บุคคลจะมีสิทธิและเสรีภาพได้แค่เพียงขั้นไหน และยังได้กล่าวถึงนโยบายที่รัฐจะต้องให้การสนับสนุนทางการศึกษาเพิ่มขึ้น
5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ  เหมือนกันที่ รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ สถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกากับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับการคุ้มครองทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย
6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
ตอบ เพราะหากรัฐไม่ได้ระบุถึงการจัดการศึกษาที่เป็นธรรมและทั่วถึงแล้ว จะทำให้คนในประเทศเกิดความเหลื่อมล้ำกันทางการศึกษา บุคคลกลุ่มหนึ่งจะได้รับความรู้ความก้าวหน้าในด้านต่างๆ รอบตัวตลอดเวลา แต่บุคคลอีกกลุ่มหนึ่งจะไม่สามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นได้เลย หากรัฐไม่เข้ามาช่วยเหลือและเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านั้นได้รับการศึกษาอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม
 7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติจงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ  เพื่อสร้างความเป็นเสถียรภาพและความเป็นปึกแผ่นให้กับประเทศ ได้มีความรู้ความสารถอยู่ในสังคม ได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกันทั้งในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน ให้บุคคลเลื่อมใสศรัทธาใน การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้เด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา คุณธรรมและจริยธรรม หากไม่ปฏิบัติตามก็ถือว่าละเมิดและไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสังคมก็จะขาดความเป็นปึกแผ่น วุ่นวาย
8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ หากมีการเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น จะส่งผลให้คนในประเทศได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน และมีความทั่วถึงยิ่งขึ้น เพราะในส่วนของรัฐเอง คงจะไม่สามารถที่จะลงมาให้ความช่วยเหลือกับบุคคลที่อยู่ในส่วนท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่ แต่หากมีการกระจายอำนาจให้คนในพื้นที่ได้ช่วยเหลือดูแลกันในด้านการศึกษาจะทำให้บุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์ที่ทั่วถึงมากกว่า
9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ  ความเสมอภาคและการช่วยเหลือที่เท่าเทียมกันและการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสานึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ การศึกษาอบรมให้กับเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบรูณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา คุณธรรมจริยธรรม โดยมีแนวทางในการจัดการศึกษา รัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่ คุณธรรมเช่นกัน และจัดการศึกษาภาคบังคับให้เข้ารับการศึกษาอบรมโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย สำหรับการศึกษาภาคบังคับ ต่อมาได้เพิ่มเติมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี รัฐจะต้องจัดอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ พร้อมทั้งจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ หรือเรียกชื่อว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติขึ้นและยังมีผลในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบโดยให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงประชามติเห็นชอบในรัฐธรรมนูญ มีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ประชาชนได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น ทำให้ประชาชนมีความรู้ความสามารถมากขึ้น และยังปิดช่องว่างความแตกต่างระหว่างบุคคลอีกด้วย

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 2

ให้นักศึกษาดาวน์โหลด เนื้อหาบท 1 ให้อ่านและวิเคราะห์ให้ละเอียด
พร้อมตอบคำถามท้ายบทนี้มี 12 ข้อ ให้นักศึกษาทำลงในบล็อกได้เลย


แบบฝึกหัด
คำสั่ง: จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราถึงต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
        การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ความมีเหตุผลเป็นพื้นฐานที่สังคมมนุษย์ ดังนั้นจึงต้องมีกฎหมายเพื่อเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ปฏิบัติร่วมกันในสังคม

2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
        สังคมปัจจุบันจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้หากไม่มีกฎหมาย  เพราะเมื่อคนในสังคมเกิดการทะเลาะวิวาทหรือมีการขัดแย้งกัน จะไม่มีคำสั่งหรือข้อบังคับใดสามารถตัดสินผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ ทำให้ต่างฝ่ายไม่ยินยอมและเกิดการใช้กำลังทำร้ายจนถึงแก่ชีวิต

3.ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมาย            
   กฎหมาย หมายถึง คำสั่งหรือข้อบัญญัติอันมาจากรัฎฐาธิปัตย์หรือผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศนั้นบัญญัติขึ้นมา เพื่อประกาศใช้บังคับให้พลเมืองของประเทศนั้นทุกคน ซึ่งไม่จำกัดเพศ อายุ ชั้น วรรณะ สัญชาติปฏิบัติตามจนกว่ากฎหมายเหล่านั้นจะถูกประกาศยกเลิก และหากฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ   

ข. องค์ประกอบของกฎหมายประกอบด้วย 4 ประการ ได้แก่
          1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์หรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด เช่น รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้
          2. มีลักษณะเป็นข้อบังคับ ไม่ใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์
          3. ใช้บังคับกับทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้
          4. มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หากฝ่าฝืนอาจจะถูกลงโทษในทางอาญา เช่น รอลงอาญา ปรับ จำคุก กักขัง ริบทรัพย์ หรือลงโทษในทางเพ่ง เช่น ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

ที่มาของกฎหมาย            
       1. บทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นกฎหมายลักษณ์อักษรเช่นกฎหมายประมวลรัษฎากรรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกากฎกระทรวงเทศบัญญัติซึงกฎหมายดังกล่าวผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
        2. จารีตประเพณีเป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานานหากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
        3. ศาสนาเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆศาสนาสอนให้เป็นคนดีเช่นห้ามลักทรัพย์ห้ามผิดลูกเมียห้ามทำร้าย
ผู้อื่นกฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
        4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษาซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการ ตัดสินคดีหลังๆซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทาไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
        5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้นสมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้

ง. ประเภทของกฎหมาย
      ในประเทศไทยจะแบ่งประเภทของกฎหมายเป็น 2กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1. กฎหมายภายใน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทย่อย ดังต่อไปนี้
          1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                   1.1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย เป็นต้น
                   1.1.2 ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีต ประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
          1.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางเพ่ง
                   1.2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา มีบทลงโทษ ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน
                   1.2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางเพ่ง ลงโทษโดยกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม หรือกฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
          1.3 กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                   1.3.1 กฎหมายสารบัญญัติ เป็นกฎหมายที่กำหนดองค์ประกอบความผิดและกำหนดความร้ายแรงของโทษ
                   1.3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ เป็นวิธีการและขั้นตอนที่ใช้บังคับดำเนินคดีทั้งคดีอาญาและคดีเพ่ง
          1.4 กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
                   1.4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ ผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตาม เช่น รัฐธรมนูญใช้กำหนดอำนาจอธิปไตย สิทธิและหน้าที่ของประชาชน
                   1.4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น กฎหมายเพ่งและพาณิชย์ เปิดโอกาสให้ประชาชนสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่างกัน
2. กฎหมายภายนอก
          2.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายว่าด้วยสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ
          2.2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นกฎหมายว่าด้วยสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ
          2.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจารณาลงโทษอาญาแก่คนที่ทำผิดนอกประเทศ


4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่า ทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
       คนแต่ละคนล้วนแต่มีนิสัยแตกต่างกัน เมื่อมาอยู่ในหมู่บ้านหรือสังคมเดียวกันจะต้องมีคำสั่งหรือข้อบังคับ เพราะการอยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์ทุกคนต่างมีมีความคิดที่แตกต่างกันอยู่แล้ว ซึ่งจะนำไปสู่การขัดแย้ง ทะเลาะวิวาท ดังนั้นจึงต้องมีกฎหมายมาควบคุมพฤติกรรมและการอยู่ร่วมกันของมนุษย์

5.  สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
   เป็นกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย สภาพบังคับ (SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา  ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง  ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ

6.
 สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร  
     ความแตกต่างระหว่างกฎหมายแพ่งกับกฎหมายอาญา มีความแตกต่างสำคัญ ๔ ประการ ดังนี้
         1. แตกต่างกันด้วยลักษณะแห่งกฎหมาย กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วย สิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อเอกชน อาทิเช่น สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตร การสมรส การหย่า มรดก ภูมิลำเนาของบุคคล กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน โดยเอกชนที่หน้าที่ต้องเคารพต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งกำหนดให้การกระทำอันใดก็ตามเป็นความผิด ถ้าหากฝ่าฝืน โดยปกติต้องมีโทษ ตัวอย่างเช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ ฐานปล้นทรัพย์ ฐานยักยอก และฐานหมิ่นประมาท
       2. แตกต่างกันด้วยวัตถุประสงค์ของกฎหมาย กฎหมายแพ่งมีวัตถุประสงค์ในอันที่จะอำนวย และรักษาไว้ซึ่งความยุติธรรมในความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน แม้บางกรณีรัฐจะเข้ามาเป็นคู่กรณีในทางแพ่งก็ตาม รัฐก็อยู่ในฐานะเป็นเอกชนมีสิทธิหน้าที่อย่างเดียวกับเอกชนอื่นๆ ทุกประการ
กฎหมายอาญา มีเจตนารมณ์ในทางรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง มุ่งประสงค์คุ้มครองให้ความปลอดภัยแก่งสังคม เมื่อบุคคลใคละเมิดบทบัญญัติแห่งกฎหมายอาญา กฎหมายถือว่ารัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรง จริงอยู่ที่ระบบกฎหมายของไทยเรานั้น เอกชนผู้ถูกล่วงละเมิดสิทธิ ก็ถือว่าเป็นผู้เสียหาย ฟ้องร้องให้ศาลลงโทษผู้ล่วงละเมิดได้ แต่สิทธิของเอกชนดังกล่าว ต้องถือว่าเป็นเพียงข้อยกเว้นของหลักกฎหมายที่ว่ารัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรงเท่านั้น.
         3. แตกต่างกันด้วยการตีความ   กฎหมายแพ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 บัญญัติว่า การตีความกฎหมายย่อมต้องตีความตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ถ้าหากไม่มีกฎหมายที่จะยกขึ้นปรับแก่คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น เป็นต้นว่า การซื้อขายเชื่อ ผู้ซื้อและผู้ขายจะปฏิบัติต่อกันอย่างไร ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ดังนั้นประเพณีที่ว่าเมื่อผู้ซื้อของเชื่อได้รับของถูกต้องแล้ว ลงลายมือชื่อไว้ในในซื้อของเชื่อ โดยให้ผู้ขายของเชื่อกรอกรายการสิ่งของ และจำนวนเงินเองนั้นย่อมใช้บังคับทางกฎหมาย ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ก็ต้องวินิจฉันคดีโดนอาศัยบทกฏหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง อาทิเช่น ชายหญิงที่อยู่กินด้วยกันอย่างสามีภริยา แต่มิได้จดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องนั้น เวลาแยกจากกันจะแบ่งทรัพย์สินกันอย่างไร กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ จึงต้องแบ่งอย่างเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม และในกรณีที่บทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งไม่มี ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามหลักกฎหมายทั่วไป กฎหมายอาญา ต้องตีความโดยเคร่งครัด จะถือว่าบุคคลในมีความผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายใด ต้องตีความตามตัวอักษรที่ปรากฏในบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นๆ โดยตรง จะมีการขยายความในบทบัญญัติแห่งกฎหมายออกไปให้ครอบคลุมไปถึงการกระทำอื่นๆ อันใกล้เคียงกับการกระที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดไม่ได้ เช่น ความผิดฐานลักทรัพย์ เป็นเรื่องเอาทรัพย์ของคนอื่น หรือเอาทรัพย์ซึ่งคนอื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต โดยเจตนาจะเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนเอง หรือผู้อื่นเท่านั้น ดังนั้น หากเป็นกรณีเอาทรัพย์ไปโดยมีเจตนาอย่างอื่น ผู้เอาไปย่อมไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์
       4. แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ   กฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับ คือ หน้าที่และความรับผิดในการชำระหนี้ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจจะถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาด เอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล หรือมิฉะนั้น อาจถูกกักขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล กฎหมายอาญานั้น มีสภาพบังคับ คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด ซึ่งโทษมีอยู่ 5สถานด้วยกัน คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน.

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
         แบ่งเป็น 2 ระบบดังนี้
         1. ระบบซีวิลลอร์ (CIVIL LAW SYSTEM) หรือระบบลายลักษณ์อักษรเป็นระบบเอามาจาก “JUS CIVILE” ใช้แยกความหมาย “JUS GENTIUM” ของโรมันซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือเป็นกฎหมายลาย ลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่นคำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมายแต่เป็น บรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้นเริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญจะ ถือเอาคำพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของนักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้
        2. ระบบคอมมอนลอว์ (COMMON LAW SYSTEM) ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคำว่า “เอคควิตี้ (EQUITY) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรนำเอาจารีตประเพณีและคำพิพากษาซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเองการวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด

8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วย
ะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย

        เนื่องจากนักวิชาการได้แบ่งประเภทของกฎหมายไว้หลากหลาย ซึ่งการแบ่งแต่ละประเภทจะขึ้นอยู่กับว่าจะใช้อะไรเป็นหลักในการแบ่งประเภท ได้แก่ การแบ่งโดยแหล่งกำเนิด ประกอบไปด้วย กฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก ซึ่งสามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีก ได้แก่
1. กฎหมายภายใน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทย่อย ดังต่อไปนี้
          1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและกฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
                   1.1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย เป็นต้น
                   1.1.2 ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีต ประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
          1.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางเพ่ง
                   1.2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา มีบทลงโทษ ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน
                   1.2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางเพ่ง ลงโทษโดยกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม หรือกฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
          1.3 กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
                   1.3.1 กฎหมายสารบัญญัติ เป็นกฎหมายที่กำหนดองค์ประกอบความผิดและกำหนดความร้ายแรงของโทษ เช่นตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์เกือบทุกมาตรา
                   1.3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ เป็นวิธีการและขั้นตอนที่ใช้บังคับดำเนินคดีทั้งคดีอาญาและคดีเพ่ง เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งกำหนดอำนาจหน้าที่ตั้งแต่เจ้าพนักงานของรัฐในการดำเนินคดีทางอาญา จนถึงการพิจารณาคดีในศาล
          1.4 กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
                   1.4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ ผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตาม เช่น รัฐธรมนูญใช้กำหนดอำนาจอธิปไตย สิทธิและหน้าที่ของประชาชน
                   1.4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น กฎหมายเพ่งและพาณิชย์ เปิดโอกาสให้ประชาชนสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่างกัน
2. กฎหมายภายนอก
          2.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายว่าด้วยสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา
          2.2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นกฎหมายว่าด้วยสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย
          2.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจารณาลงโทษอาญาแก่คนที่ทำผิดนอกประเทศ

 9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
         ศักดิ์ของกฎหมาย หมายถึง การจัดลำดับค่าบังคับของกฎหมาย หรืออำนาจของผู้ออกกฎหมาย ซึ่งอาศัยว่าองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจในการออกกฎหมายสำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น รัฐสภาจะออกกฎหมายทันต่อความต้องการของสังคม และฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายในอยู่ภายใต้กรอบของหลัก กฎหมายใดที่อยู่ขั้นต่ำกว่าจะขัดแย้งกับกฎหมายที่มีศักดิ์ไม่ได้ ซึ่งประเทศไทยได้จัดลำดับความสำคัญของศักดิ์ของกฎหมายได้ดังนี้
          1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายแม่บทที่ใช้ยึดหลักในการปกครองและบริหารประเทศ
          2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยเห็นชอบจากรัฐสภา ที่เป็นตัวแทนของประชาชน และพระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับกฎหมาย
          3พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุเร่งด่วนหรือฉุกเฉิน ซึ่งเมื่อตราแล้วขึ้นนำเสนอต่อรัฐสภาภายในระยะเวลาอันสั้น (2-3 วัน) หากอนุมัติก็กลายสภาพเป็นกฎหมายเหมือนพระราชบัญญัติ
          4ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ มีลักษณะคล้ายกับพระราชกำหนด ใช้ในยามที่มีสถานะสงครามหรือในภาวะคับขัน
          5พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่กษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย ใช้ประกาศพระบรมราชโองการ มีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ และขัดกับกฎหมายที่ศักดิ์สูงกว่าไม่ได้
          6กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออก โดยออกตามกฎหมายแม่บท มีความสำคัญรองลงมาจากพระราชกฤษฎีกา
          7 ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจปกครองดูแล ใช้บังคับเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดนั้น เพื่อจัดเรียงสังคมดูแลทุกข์สุขประชาชน
          8 เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติเทศบาล โดยมีการแบ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น 3 ระดับ คือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมืองและเทศบาลนคร

10. เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบแต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบลงมือทำร้ายร่างกายประชาชนในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
        จากเหตุการณ์นี้รัฐบาลมีการกระทำความผิด เนื่องจากประชาชนสามารถออกมาเรียกร้องสิทธิในการชุมนุมได้อย่างสงบ ดังนั้นรัฐบาลจึงห้ามทำร้ายร่างกายประชาชนให้เกิดความบาดเจ็บ และพร้อมรับฟังปัญหาที่ประชาชนเรียกร้องและหาแนวทางเพื่อให้เหตุการณ์คลี่คลายลง

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
         บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับ ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้ กฎหมายทางการศึกษา เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาคน ซึ่งครูและบุคลากรทางการศึกษา เสมือนวิศวกรในการสร้างคนให้เป็นไปตามความต้องการของคนในประเทศและนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สุขต่อเยาวชนและประเทศชาติ

12.ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
        กฎหมายทางการศึกษา เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาคน ซึ่งครูและบุคลากรทางการศึกษา เสมือนวิศวกรในการสร้างคนให้เป็นไปตามความต้องการของคนในประเทศและนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สุขต่อเยาวชนและประเทศชาติ ถ้าเราไม่รู้กฎหมายทางการศึกษาจะทำให้เกิดผลกระทบหลายด้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ การจัดการศึกษาอย่างไรที่จะต้องเป็นไป  เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข  และจะต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษานั้นต้องทำอย่างไร  สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่คนเป็นครูจะต้องทราบเพื่อจะได้ส่งเสริมกระบวนการจัดการศึกษาให้ผู้เรียน ได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
                                          **************************************

อนุทินที่ 1

อนุทินที่ 1

ให้นักศึกษาแนะนำตนเอง  
1.ประวัติของตนเอง 
2.อุดมการณ์ความเป็นครูของตนเอง  
3.เป้าหมายของตนเอง


ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นางสาวนิตยา นามสกุล สร้อยสังทอง
รหัสนักศึกษา 5881114028
ชื่อเล่น นิด
เกิดเมื่อวันที่ 22 เดือนมกราคม พ.ศ. 2540
กำลังศึกษาอยู่ ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
บ้านเลขที่ 120 ม.3 ต.หัวไทร อ. หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช

อุดมการณ์ความเป็นครู
     อยากถ่ายทอดความรู้ที่มีให้กับนักเรียน
     อยากสอนสั่งให้นักเรียนมีคุณธรรมและจริยธรรม

เป้าหมาย
    เป็นครูและแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนทั้งกาย วาจา และใจ




อนุทินที่ 3

แผนบริหารการสอนประจำบทที่  2 กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของชาติ 1.  ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผล...